บทที่ 3

ประวัติศาสตร์แพทยสภา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ถนอม บรรณประเสริฐ

แพทยสภา (Medical Council) เป็นหน่วยงานควบคุมการกำกับการประกอบวิชาชีพ แพทย์แผนปัจจุบัน (Modern Medicine) ตามระบบประเทศตะวันตก เริ่มจัดตั้งครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.. 2466 เมื่อแรกสถาปนาเรียกว่าสภาการแพทย์”(Medical Council) เนื่องจากในสมัยนั้นมีจำนวนแพทย์แผนปัจจุบันเพียงไม่กี่ร้อยคน แต่มีแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนโบราณอื่น ๆ จำนวนเกือบหมื่นคน เช่น หมอนวด แพทย์แผนจีน เป็นต้น ทำให้สภาการแพทย์ไม่สามารถจัดตั้งระบบควบคุมกำกับการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนปัจจุบันได้เหมือนอย่างประเทศตะวันตก เพราะต้องควบคุมแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนโบราณในท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมไปด้วยพร้อมกัน กรรมการร่างพระราชบัญญัติการแพทย์จึงบัญญัตินิยามศัพท์เรียกอาชีพแพทย์ทุกประเภทและอาชีพด้านสุขภาพทุกประเภทรวมกันว่า “Art of Healing” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานศัพท์แปลว่าการประกอบโรคศิลปะหมายถึงการประกอบอาชีพแพทย์และอาชีพด้านสุขภาพทุกประเภทรวมกัน การกำกับการประกอบวิชาชีพแพทย์แผนปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะแทนตามสถานการณ์ในขณะนั้น แต่วิชาชีพแพทย์แผนต่าง ๆ และวิชาชีพด้านสุขภาพแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงมีการพัฒนากำหนดคุณสมบัติของแต่ละวิชาชีพ บนพื้นฐานของศาสตร์วิชาแต่ละประเภทในรายละเอียดและได้แยกการควบคุมการประกอบโรคศิลปะออกเป็นประเภทย่อย ๆ โดยมีข้อกำหนดกฎหมายที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อสภาการแพทย์เป็นคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว

เมื่อการควบคุมการประกอบโรคศิลปะเจริญก้าวหน้าขึ้น ระบบควบคุมกำกับเฉพาะแพทย์แผนปัจจุบันได้พัฒนาขึ้น จึงแยกออกไปจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมายใหม่คือพระ-ราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยจัดตั้งเป็นแพทยสภา” (Medical Council) เพื่อเป็นหน่วยงานควบคุมกำกับแพทย์แผนปัจจุบันโดยเฉพาะ เมื่อปี พ.. 2511แพทยสภาจึงเป็นสภาวิชาชีพด้านสุขภาพหน่วยงานแรกที่ได้แยกออกมาจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมาย

 

235 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เป็นต้นแบบให้สภาวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ พัฒนาแยกตัวออกจากการควบคุมการประกอบโรคศิลปะตามมา เช่น สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา เป็นต้น ในการพัฒนาแยกตัวของสภาวิชาชีพต่าง ๆ นี้ เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าระบบการควบคุมกำกับอาชีพด้านสุขภาพในวิชาชีพนั้นได้เจริญก้าวหน้า สมบูรณ์เพียงพอแล้วที่จะดำเนินการให้สอดคล้องตามระบบสากล หากนับเวลาตั้งแต่จัดตั้งสภาการแพทย์.. 2466 จนถึงกำเนิดแพทยสภา.. 2511 แล้ว จะต้องใช้เวลานานถึง 45 ปี ถึงจะสามารถพัฒนาเป็นแพทยสภา (Medical Council) สามารถจัดตั้งองค์กรอิสระควบคุมการกำกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแพทย์แผนปัจจุบัน” (Modern Medicine) ตามมาตรฐานระบบสากลได้สำเร็จ

ทั้งนี้สาระสำคัญที่สุดซึ่งเป็นหัวใจการควบคุมกำกับวิชาชีพเวชกรรมคือ การบังคับใช้อำนาจควบคุมกำกับต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะต้องทำในรูปแบบคณะกรรมการชุดหนึ่ง มีอำนาจการควบคุมกำกับลงโทษต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีการตรวจสอบ ถ่วงดุล และเที่ยงธรรมตามระบบคณะกรรมการโดยปราศจากความลำเอียง และป้องกันไม่ให้อำนาจการบังคับหน่วยงานราชการของอธิบดีหรือรัฐมนตรีมีอำนาจควบคุมกำกับลงโทษต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยตรงในแนวทางเดียวกับระบบสากล

วิวัฒนาการระบบควบคุมการกำกับแพทย์แผนปัจจุบันตามแบบอย่างของประเทศตะวันตกของประเทศไทย อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค ดังนี้

ยุคที่ 1 สภาการแพทย์ พ.. 2466 - 2479

ยุคที่ 2 คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 - 2511

ยุคที่ 3 แพทยสภา พ.. 2511 - ปัจจุบัน

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

236 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ยุคที่ 1 สภาการแพทย์ พ.. 2466 - 2479

พระราชบัญญัติการแพทย์ - The Medical Acts of Siam

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ถนอม บรรณประเสริฐ

ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียร

ความเป็นมา

การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับราษฎรเริ่มต้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.. 2430 (นับอย่างสากล) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง กอมมิตตีจัดการโรงพยาบาล(คณะกรรมการจัดการโรงพยาบาล) เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของสยามคือ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.. 2431 และให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลอื่น ๆ ในพระนครเพื่อประโยชน์ของราษฎรในลำดับถัดไป ต่อมาให้ยุบกอมมิตตีจัดการโรงพยาบาลและตั้งกรมพยาบาลขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.. 2431 และใน พ.. 2433 มีการตั้งโรงเรียนสำหรับสอนแพทย์ขึ้นเป็นแห่งแรกที่โรงพยาบาลศิริราช ชื่อโรงเรียนแพทยากร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.. 2433(1) ต่อมาเป็นโรงเรียนราชแพทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปัจจุบัน

ระหว่าง พ.. 2464 - 2465 หมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ (Dr. M. Carthew, Dr. IraAyer) แพทย์ที่ปรึกษากรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ประมาณการว่า มีแพทย์จบการศึกษาจากโรงเรียนราชแพทยาลัยรวมราว 400 - 500 คน และมีแพทย์ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศราว 40 - 50 คน ในขณะที่มีผู้ประกอบการทางแพทย์ที่ไม่ได้เรียนมีจำนวนถึง 10,000 คน(2) พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ผู้อำนวยการกองพยาบาล สภากาชาดสยาม(3) อธิบายสภาพการประกอบอาชีพแพทย์ในขณะนั้นว่ายังไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ใครอยากจะเป็นแพทย์ก็ทำอาชีพแพทย์ได้เลย จึงมีทั้งหมอผี หมอตำแย หมอเวทมนตร์ หมอเสน่ห์เล่ห์กล โดยเฉพาะหมอตำแยที่มีปัญหาทำให้ทั้งแม่และลูกเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณตระหนักถึงปัญหาและอันตรายที่มีผลกระทบต่อประชาชน จึงร่างกฎหมายการแพทย์เพื่อควบคุมกำกับอาชีพแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศเพื่อเสนอต่อกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และสภากาชาดสยาม โดยตั้งชื่อพระราชบัญญัตินี้ว่าพระราชบัญญัติการแพทย์โดยบัญญัติให้มีการจัดตั้งสภาการแพทย์เป็นคณะกรรมการคณะหนึ่ง มีอำนาจออกใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะให้แก่บุคคลประกอบวิชาชีพโดยถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมาสภาการแพทย์ได้พัฒนาแยกออกมาจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมเพื่อให้ปราศจากอิทธิพลและการบังคับใด ๆ จากอำนาจบังคับบัญชาของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้เกิดความเที่ยงธรรมและเป็นกลางอย่างแท้จริงสภาการแพทย์ได้พัฒนาเป็นคณะกรรมการแพทยสภาในปัจจุบัน มีลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระราชบัญญัติการแพทย์ดังต่อไปนี้

 

237 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

จุดเริ่มต้นกฎหมายควบคุมแพทย์

วันที่ 30 กันยายน พ.. 2464 นายพันเอก พระศักดาพลรักษ์ (ชื่น พุทธิแพทย์ ภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นนายพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ) ผู้อำนวยการการกองพยาบาล สภากาชาดสยามมีหนังสือกราบทูลจอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ว่า

...ด้วยการแพทย์ของประเทศสยามเราตามที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ยังหามีระเบียบแต่อย่างใดไม่ กล่าวคือ ใครอยากจะทำการหากินในทางแพทย์ก็ทำได้ตามใจชอบ ไม่มีข้อขีดคั่นอย่างใด เช่น ถ้าอยากจะเป็นแพทย์หรือเป็นหมอก็เป็นได้ทันที โดยไม่ต้องได้รับการอบรมจากโรงเรียนก็ได้ หรืออยากจะเป็นผู้ปรุงยาก็ตั้งร้านปรุงยาขายยาฝรั่งได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวอันตรายต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก กระทำให้มารดาและเด็กทารกตายเสียมากต่อมาก ดังได้เห็นตัวอย่างมาเป็นอเนกประการ...(4)

การยกร่างกฎหมายฯ

นายพันเอก พระศักดาพลรักษ์ (ชื่น พุทธิแพทย์) มีหนังสือกราบทูลจอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ว่าเคยแนะนำและส่งร่างพระราชบัญญัติการแพทย์ไปยังกรมสาธารณสุขในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในเรื่องนี้แล้ว แต่ก็ไม่เป็นผล จึงได้มีหนังสือกราบทูลนี้ เพื่ออาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติสภากาชาดสยาม สภานายกและอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามสามารถกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรงในเรื่องกิจการของสภากาชาด อีกทั้งพูดจาโต้ตอบกับเสนาบดีเจ้ากระทรวงได้ เพื่ออธิบายว่าเรื่องร่างพระราช-บัญญัติการแพทย์นี้เป็นหน้าที่ของสภากาชาดเช่นกัน เพราะการแพทย์เป็นเรื่องการช่วยชีวิตมนุษย์ ซึ่งนับเป็นกิจการสำคัญของสภากาชาด อุปนายกผู้อำนวยสภากาชาดสยามจึงทรงมีจดหมายลงวันที่ 30 กันยายน พ.. 2464 รับสั่งให้นำร่างกฎหมายฯ เข้าประชุมหารือกับกาชาดบุรพประเทศในเดือนพฤศจิกายน พ.. 2465(5) และมีหนังสือลายพระหัตถ์ที่ 1479 ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.. 2464(6) กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

...ควรให้มีพระราชบัญญัติจดทะเบียนแพทย์ เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่มีความรู้สมควร มิให้หากินทางรักษาโรค ถวายร่างพระศักดาขึ้นมาด้วย ได้รับพระราชทานร่างนั้นส่งไปยังเสนาบดีมหาดไทย เพื่อดำริต่อไป...

วันที่ 28 ตุลาคม พ.. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาเลขที่ 5/299 ไปยังกระทรวงมหาดไทย(7) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาเสวกเอก เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย นำ

 

238 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ร่างพระราชบัญญัติการแพทย์ของนายพันเอก พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ไปใช้ทำเป็นโครงร่างจัดทำพระราชบัญญัติการแพทย์ขึ้น ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือกราบทูลที่ 99/4437 วันที่ 29 ธันวาคม พ..2464 ตอบกลับไปยังกรมราชเลขาธิการว่า กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ได้ดำริเรื่องนี้ไว้นานแล้วและได้ร่างพระราชบัญญัติขึ้นเป็นภาษาอังกฤษชื่อ “The Medical Act of B.E. 846” โดยให้หมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ แพทย์ที่ปรึกษากรมสาธารณสุข จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.. 2464(8) ขณะนั้นนายแพทย์ไอรา แอร์ ยังดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการสาธารณสุขฝ่ายหัวเมือง กองที่ปรึกษากรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย(9)

กระทรวงมหาดไทยรับสนองพระราชกระแสรับสั่ง จึงได้กำหนดนัดประชุมยกร่างพระราชบัญญัติการแพทย์เป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.. 2464 และมีการยกร่างทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงตรวจแก้ไข จนในที่สุดมีการยกร่างพระราชบัญญัติการแพทย์ฉบับที่ 7 สำเร็จ มีทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับแปลภาษาอังกฤษ และได้นำความกราบบังคมทูลเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ..2466(10) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติการแพทย์ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2466

ในร่างฯ พระราชบัญญัติฉบับที่ 4 ที่เป็นภาษาอังกฤษ ยกร่างเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.. 2465 คณะกรรมการได้ให้นิยามศัพท์ของคำว่า Art of Healing ว่า

“Art of Healing” denotes the practices of Medicine, Surgery, Obstetrics, Dentistry, Medicine, Veterinary Medicine, Pharmacy, Nursing, Massage, and any Treatment of the sick or ailing.(11)

แต่เกิดปัญหาในการแปลคำว่า Art of Healing เป็นศัพท์ภาษาไทยว่าควรจะใช้คำอะไรที่เหมาะสม โดยกระทรวงมหาดไทยได้แปลนิยามศัพท์ตามร่างฯ ฉบับที่ 4 ไว้ดังนี้

ศาสตร์ “Art of Healing” แปลว่าเวชศิลปะ

การประกอบอาชีพ “Art of Healing” แปลว่าเวชศิลปะกรณ์

ผู้ประกอบอาชีพ “Art of Healing” แปลว่าผู้ประกอบเวชกรณ์

ส่วนหน่วยงานอื่นมีความเห็นว่าควรแปล คำว่า เวชกรณ์ เป็นแบบอื่น(12) เช่น

แพทยสมาคมแห่งกรุงสยามให้ใช้ว่าอายุรเวชกรรมแทน

กระทรวงศึกษาธิการให้ใช้ว่าเวชกิริยาและจิกิตสาหรือจิกิตสากรรมแทน

กระทรวงมุรธาธรให้ใช้ว่าเวชกรรมแทนคำว่า เวชกรณ์

เมื่อมหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ราชเลขาธิการ กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชวินิจฉัย ร่างพระราชบัญญัติการแพทย์ฉบับที่ 7 ว่าเป็นฉบับสุดท้ายแล้วพร้อมจะประกาศเป็นกฎหมาย แต่กระทรวงต่างประเทศเสนอว่าควรขอการรับรอง

 

239 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

จากต่างประเทศเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.. 2466(13) ความว่า

...เห็นเมื่อได้ตรวจดูกันอีกครั้ง 1 แล้ว ก็ควรเป็นยุติว่าร่างนี้ใช้ได้แล้วส่วนข้อที่กระทรวงการต่างประเทศทักท้วงมานั้น ให้ถามความเห็นของพวกทูตได้ ไม่ได้เสียเวลาโรเรไปอีกนาน ก็ดีอยู่ แต่ถ้าจะเป็นเครื่องถ่วงเวลาไปอีก ก็เกรงว่าจะป่วยการ ส่วนข้อที่จะประกาศใช้ที่แห่งใดบ้างนั้น ควรให้มหาดไทยเองเป็นผู้วินิจฉัยว่า ควรจะใช้ได้ภาคใด ๆ บ้าง ๆ แห่งพระราชอาณาจักร

ราม ป..

ส่วนเรื่องการแปลศัพท์ “Art of Healing” นั้น พระนิติศาสตร์จากกรมพระนิติศาสตร์ได้ย่อเรื่องไว้ และมีหมายเหตุของเจ้าพระยามหิธรแนบท้าย ลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.. 2466 ความว่าอนึ่งได้รับพระราชทานตรวจดูร่างฉบับที่ 7 นี้แล้ว ได้ความว่า...ใช้ว่าการประกอบโรคศิลปะแทนคำว่าเวชกรณ์และใช้คำว่าการบำบัดโรคแทนคำว่าอายุรเวชกรรม’ ”(14)

รายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2479 บทที่ 4 เรื่องการควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะ อธิบายลักษณะสำคัญของกฎหมายพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 ว่า

คำว่าโรคศิลปะหมายความถึง การบำบัดโรคทางยาและการผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์ การทำและรักษาฟัน การปรุงหรือจำหน่ายยา การพยาบาล หรือการรักษาคนบาดเจ็บป่วยไข้ด้วยวิธีใด ๆ(15)

มีสาระสำคัญว่าด้วยการควบคุมกำกับคือ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบโรคศิลปะ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์หรือสินจ้างรางวัล นอกจากและจนกระทั่งผู้นั้นจะได้รับใบอนุญาตขึ้นทะเบียนและยื่นใบสำคัญขึ้นทะเบียนให้ลงบัญชีตราสินแล้ว

พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 โดยกระทรวงมหาดไทย จึงเป็นการประกาศกฎหมายควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลทุกประเภท เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณ (แพทย์แผนไทย) แพทย์ผดุงครรภ์ แพทย์ทางฟัน (ทันตแพทย์) แพทย์ปรุงยา (เภสัชกรรม) พยาบาล รวมถึงสัตวแพทย์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

สภาการแพทย์ พ.. 2466

สภาการแพทย์เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคลระดับกรมตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พุทธศักราช 2466

สภาการแพทย์มีลักษณะเป็นคณะกรรมการชุดหนึ่ง มีฐานะทางกฎหมายเทียบเท่าระดับกรม มีชื่อว่ากรรมการสภาการแพทย์หรือ

 

240 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

คณะกรรมการแพทย์ประกอบด้วย อธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นประธาน และมีกรรมการเจ้าหน้าที่ 8 นาย ซึ่งเป็นผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม และสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ และมีกรรมการเชลยศักดิ์ (กรรมการเลือกตั้ง) อีก 4 นาย

สภาการแพทย์มีอำนาจให้อนุญาตการประกอบโรคศิลปะดังนี้

...มาตรา 9 ก. อันว่าสภาการแพทย์นั้นให้มีอำนาจอนุญาตที่จะออกใบอนุญาตให้บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดประกอบโรคศิลปะ เพื่อแสวงผลประโยชน์ หรือสินจ้าง เพื่อรับบำเหน็จทดแทนหรือรางวัลโดยทางตรงทางอ้อมสำหรับตนเองหรือผู้อื่นนั้นได้ ประการหนึ่งมีอำนาจจดทะเบียนบุคคลทั้งปวงซึ่งได้รับอนุญาตเช่นว่าแล้วนั้น ประการหนึ่ง กับมีอำนาจทำการสืบหรือไต่สวนตามแต่จะจำเปน เพื่อที่จะให้สภาการแพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่า บุคคลอันจะขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินั้น ผู้ใดเปนผู้ที่มีคุณสมบัติควรแก่การขึ้นทะเบียนได้หรือไม่นั้นอีกประการหนึ่งด้วย

แต่ให้พึงเข้าใจว่า คุณสมบัติอันประกอบความสมควรดังได้กล่าวมาในมาตรานี้นั้น ท่านหาได้หมายความเพียงแต่วิทยาคุณในวิชชาชีพกับความบริสุทธิ์ของประกาศนียบัตร์เท่านั้นไม่ ย่อมกินความถึงความมั่นคงในธรรม-จรรยามารยาทเนื่องในวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย

สภาการแพทย์ดำเนินการในรูปแบบคณะกรรมการชุดหนึ่ง ใช้อำนาจตามกฎหมายสภาการแพทย์จากคำสั่งตามมติคณะกรรมการฯ เป็นสำคัญ ไม่ใช่อำนาจจากคำสั่งของสภานายกของสภาการแพทย์ ปัจจุบันกรรมการสภาการแพทย์ได้พัฒนาเป็นคณะกรรมการแพทยสภาโดยยังคงลักษณะการใช้อำนาจของมติคณะกรรมการฯ ตามแบบเดิม เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง ความยุติธรรม และปราศจากอิทธิพลอำนาจบังคับบัญชาของกระทรวงสาธารณสุข สภาการแพทย์มีสำนักงานสำนักงานหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นฝ่ายธุรการและเลขานุการของคณะกรรมการฯ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ นี้คือสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาในปัจจุบัน

การดำเนินงานของสภาการแพทย์

ระยะแรก พ.. 2466 - 2471

วันที่ 26 กันยายน พ.. 2470 นายพันเอก พระยาดำรงแพทยาคุณ มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ความว่า

...ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลเกล้าฯ ถวายสำเนารายงานการประชุมของสภาการแพทย์ ซึ่งได้ประชุมมาแล้ว 6 ครั้ง เพื่อทรงทราบว่าระหว่างนี้ได้

 

241 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ดำเนินการไปแล้วเพียงใด...อนึ่งอุปสรรคอันสำคัญที่สภาการแพทย์ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามความมุ่งหมายก็คือ การขัดข้องด้วยการเงิน ซึ่งยังรู้ไม่ได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จเมื่อใด...(16)

รายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2468 บทที่ 1 เรื่องปรารภ ระบุว่า สภาการแพทย์ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.. 2466 ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ พุทธศักราช 2466 มีฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นสภานายกแห่งคณะกรรมการ ในระหว่าง พ.. 2466 - 2467 กรรมการได้มีการประชุมรวม 4 ครั้ง และในปี พ.. 2468 ได้มีการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ รวม 2 ครั้ง รวม 6 ครั้ง นับตั้งแต่ พ.. 2466 ถึง พ.. 2470 สภาการแพทย์ได้มีประชุมทั้งหมด จำนวน 6 ครั้ง และมีปัญหาเรื่องเงินงบประมาณ

สภาพการทำงานของสภาการแพทย์จากหนังสือพิมพ์บางกอกการเมือง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.. 2471 เรื่องสภาการแพทย์ตั้งขึ้นนานแล้วความว่า

ประเทศสยามมีความจำเป็นต้องใช้แพทย์เพียงไร และแพทย์ชนิดแผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนโบราณจึงจะเหมาะแก่สภาพของประเทศสยามก็นับว่าเป็นปัญหาอีกข้อ 1

ด้วยความจำเป็นต้องใช้แพทย์สำหรับบ้านเมืองนี้แหละรัฐบาลหรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสภาการแพทย์ขึ้น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ก็คือจะได้เห็นเป็นที่พึ่งแก่ราษฎรผู้ป่วยไข้ให้ได้รับการเยียวยาเป็นอย่างดี

บัดนี้สภาการแพทย์ได้ตั้งขึ้นนานแล้ว และอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่กรมสาธารณสุข แต่เท่าที่เป็นมาแล้ว สภาการแพทย์มิได้งอกเงยให้เป็นผล สมความมุ่งหมายเท่าไรนัก แพทย์แผนโบราณเคยเป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น ผิดอยู่แต่ต้องไปจดทะเบียนรายชื่อให้เจ้าหน้าที่รู้ไว้ว่าเป็นแพทย์เท่านั้น ส่วนวิธีการรักษาเยียวยาหรือสรรพคุณยาที่เคยใช้อยู่อย่างไรก็ใช้อยู่อย่างนั้น หรือมิหนำซ้ำกลับให้ใช้โลดโผนเจือไปในทางแพทย์แผนปัจจุบันก็มีมาก อันหาหลักสมมุติฐานมิได้ แล้วก็เป็นภัยแก่การรักษาโรคให้ไม่มีที่สิ้นสุด

ส่วนแพทย์แผนปัจจุบันก็ดำเนินไปตามความนิยมและมิได้เอนเอียงมาช่วยสนับสนุนการแพทย์แผนโบราณหรือแพทย์ไทย ต่างฝ่ายต่างดำเนินกันไปคนละทาง ตามแต่ความนิยมของราษฎรจะเลือกใช้ ผลจึงมิบังเกิดให้เห็นสภาพของสภาการแพทย์รุ่งเรืองขึ้น

การที่เป็นทั้งนี้เพราะสภาการแพทย์มิได้มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์รักษาโดยตรง ฝ่ายกรมสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้จัดการเดี๋ยวนี้ก็มีงานล้นเหลืออยู่แล้ว และโดยมากแพทย์ในกรมสาธารณสุขขาดความรู้เรื่องในวิชาแพทย์ไทยหรือแพทย์แผนโบราณ

 

242 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เป็นการสมควรที่จะดำริหาทางทะนุบำรุงสภาการแพทย์ของประเทศให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น และให้ผลิดอกออกผลทั้งแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบันให้ดำเนินร่วมกันไปตามสภาพที่ราษฎรยังนิยมใช้แพทย์แผนโบราณบ้างแพทย์แผนปัจจุบันบ้าง ก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กว่าที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้(17)

สรุปผลการดำเนินการของสภาการแพทย์ในระยะแรก พ.. 2466 - 2471 ได้ว่า การทำงานของสภาการแพทย์ไม่ค่อยได้ผล เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่โดยตรง ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ของกรมสาธารณสุข มีปัญหาในการควบคุมแพทย์แผนโบราณ เพราะทำได้เพียงแค่ขึ้นทะเบียนชื่อไว้อย่างเดียว ไม่มีระบบควบคุมมาตรฐานการประกอบอาชีพของแพทย์โบราณ ทำให้แพทย์แผนโบราณนำวิชาแพทย์แผนปัจจุบันมาใช้เองโดยไม่มีความรู้เรื่องหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดอันตรายไม่มีที่สิ้นสุด ประชาชนนิยมการรักษาทั้ง 2 แบบ แตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ โดยแพทย์แผนปัจจุบันกับแพทย์แผนโบราณต่างฝ่ายต่างดำเนินไปคนละทาง และไม่สนับสนุนกัน ในปี พ.. 2472 จึงประกาศกฎเสนาบดีเพื่อแยกการควบคุมแพทย์ทั้ง 2 ประเภท คือ แพทย์แผนปัจจุบันกับแพทย์แผนโบราณออกจากกัน ไม่ได้กีดกันแพทย์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ประชาชนสามารถเลือกใช้แพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนโบราณตามความนิยม

ระยะที่สอง พ.. 2472 - 2476

วันที่ 29 เมษายน พ.. 2472 ในรายงานประชุมเสนาบดีสภาที่ 2/2472 ณ พระที่นั่งราชกรัณยสภา มีความตอนหนึ่งว่า

...การที่ร่างพระราชบัญญัติการแพทย์เพิ่มเติมขึ้นนั้น ก็มีแต่แก้ไขเล็กน้อยเท่านั้น พระราชบัญญัติเดิมครอบถึงสัตวแพทย์ด้วย เห็นกันว่าไม่เป็นการจำเป็นและเรื่องการประชุมใหญ่ของสภาการแพทย์นั้นเดิมให้สภานายกเป็นผู้จัดการกำหนด ได้แก้ไขให้อุปนายกเป็นผู้จัดการแทนได้ ส่วนการที่ร่างกฎเสนาบดีขึ้นนั้น ก็เป็นแต่วิธีปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 ที่ใช้มานานแล้ว แต่ยังไม่มีกฎเสนาบดี เพราะขัดข้องด้วยประการต่าง ๆ สภาการแพทย์ได้ร่างขึ้นชั้นหนึ่งก่อน เพราะว่าส่วนใหญ่ของกฎเสนาบดีเป็นการแพทย์เทคนิคมาก เจ้าหน้าที่ทางปกครองกระทรวงมหาดไทยได้ตรวจอีกครั้งหนึ่ง และส่งกรมร่างกฎหมายให้อุปนายกสภาการแพทย์ทำการติดต่อกับกรมร่างกฎหมายและได้แก้ตามคำทักท้วงกรมร่างกฎหมายแล้ว...

ต่อมาจึงได้แก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติเพิ่มเติมและจัดทำกฎหมายลูกคือ กฎเสนาบดีหรือกฎกระทรวง พ.. 2472 ซึ่งมีสาระสำคัญ 2 ประเด็น คือ

1) ตัดการควบคุมอาชีพสัตวแพทย์ออกจากควบคุมกำกับของสภาการแพทย์

2) เพิ่มอำนาจสภาการแพทย์ในการรับรองหลักสูตรการศึกษาด้านวิชาชีพ ตามมาตรา

 

243 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

6 ของกฎหมายนี้ เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษาของใบประกาศนียบัตรก่อนการขอขึ้นทะเบียนจากสภาการแพทย์ และให้ความสำคัญกับใบประกาศนียบัตรจากกระทรวงธรรมการหรือเทียบเท่า จะได้รับการขึ้นทะเบียนชั้นสูงที่สุดของสาขาที่ได้รับใบประกาศนียบัตรนั้น

กฎเสนาบดีตามความในมาตรา 8 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ มีประเด็นสำคัญ คือ

1) การแบ่งลำดับชั้นผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็น 2 ประเภท คือ ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 กฎเสนาบดี (กฎกระทรวง) ฉบับนี้ แบ่งผู้ประกอบโรคศิลปะออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หมายถึง ผู้ประกอบโรคศิลปะที่ใช้ความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ

. กลุ่มที่มีชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ได้แก่ แพทย์ทางยา ทางผ่าตัด ทางผดุงครรภ์ ผู้ทำและรักษาฟัน ผู้ปรุงหรือจำหน่ายยา หมอตำแย

. กลุ่มที่มีชั้นที่ 1 อย่างเดียว ได้แก่ การพยาบาล และสาขาการนวด

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หมายถึง ผู้ประกอบโรคศิลปะที่อาศัยความสังเกต ความชำนาญ อันได้บอกเล่าสืบต่อกันมา หรืออาศัยตำราโบราณ โดยไม่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ

. กลุ่มที่มีชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ได้แก่ สาขาบำบัดโรคทางยา

. กลุ่มที่มีชั้นที่ 1 อย่างเดียว ได้แก่ หมอตำแยและหมอนวด

ข้อห้ามขึ้นทะเบียนประเภทแผนโบราณมี 3 สาขา คือ การผ่าตัด การผดุงครรภ์ ผู้ทำ และรักษาฟัน

ผู้ประกอบโรคศิลปะทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ

. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้น 1 คือ มีประกาศนียบัตร หรือใบรับรองการศึกษาจากสถาบันที่สภาการแพทย์รับรองหลักสูตร

. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้น 2 คือ ผู้ที่ไม่ใช่ประเภท 1 โดยมีผู้ประกอบโรคศิลปะชั้น 1 จำนวน 3 คน รับรองให้ทำการในสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา และสภาการแพทย์เห็นสมควรอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นประเภทที่ 2

2) การจำกัดการประกอบโรคศิลปะ มีการจำกัดสิทธิไว้ ดังนี้

แพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 มีสิทธิรักษาโรคได้ทุกสาขา โดยปรุงหรือขายยาสำหรับคนไข้ตนเองทำได้ แต่ทำแบบร้านขายยาไม่ได้

แพทย์แผนปัจจุบันชั้น 2 จำกัดสิทธิตามสาขาที่ได้รับอนุญาต และห้ามการทำผ่าตัดใหญ่การปรุงยา การใช้เครื่องมือทำคลอด ฉีดยาเข้าเส้นเลือด การวางยาสลบ เป็นต้น และห้ามไม่ให้ปรุงยาหรือขายยาให้กับคนไข้ตนเอง รวมทั้งแบบร้านขายยาก็ไม่ได้

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณชั้น 1 ให้ทำตามแผนโบราณ ห้ามทำตามแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น ผ่าตัด คลอดบุตร ส่วนการปรุงยาทำได้เฉพาะยาแผนโบราณเฉพาะคนไข้ตน แต่ห้ามปรุงยาแผนปัจจุบัน

 

244 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณชั้น 2 จำกัดสิทธิเหมือนกับผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณชั้น 1

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาหมอตำแย ทำคลอดได้เฉพาะตามวิธีธรรมชาติ ห้ามใช้การวางยาสลบและเครื่องมือในการคลอดบุตร

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาการนวด นวดได้เฉพาะคนปกติ ถ้าจะนวดคนป่วยต้องได้รับความยินยอมจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1

3) การกำหนดกระทำที่ผิดจริยธรรมวิชาชีพไว้ในกฎหมาย

มีการกำหนดมารยาทในการประกอบวิชาชีพโรคศิลปะ ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า จริยธรรมวิชาชีพ ในข้อ 34 และ 35 ว่า

ข้อ 34 ผู้ประกอบโรคศิลปะต้องกระทำตามหน้าที่ของตนอย่าง - เต็มความสามารถ - โดยความระมัดระวัง - โดยความหวังดีต่อคนไข้

ข้อ 35 การกระทำที่ผิดจริยธรรมมี 10 ข้อ (ปรับปรุงข้อความให้อ่านง่าย - ผู้เขียน)

1. ต้องโทษอาญาตามคำพิพากษา

2. เสพสุราเมาครองสติไม่ได้ในที่สาธารณะ เสพยาเสพติด ประพฤติที่สภาการแพทย์เห็นว่าเสื่อมเสีย

3. อาศัยวิชาชีพกระทำให้เสื่อมเสีย

4. เปิดเผยความลับคนไข้ที่ทราบมาจากวิชาชีพ ยกเว้นคนไข้ยินยอมหรืออำนาจศาล

5. ใช้หรือช่วยผู้อื่นที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะ ให้ประกอบโรคศิลปะ เว้นแต่เป็นนักเรียนแผนปัจจุบันหรือเป็นศิษย์เรียนแผนโบราณและเฉพาะจำเป็นเพื่อป้องกันอันตรายแก่คนไข้

6. อวดอ้างหรือประกาศตนเองในวิชาความรู้หรือล่อลวงประชาชนว่ามียาวิเศษ

7. รับรองตำรับลับหรือเครื่องล่อลวงหรือใบรับรองสิ่งของเพื่อหวังผลประโยชน์

8. ใช้จ้างวานนายหน้า ชักจูงให้ประชาชนหลงเชื่อ โดยหวังจะมีคนไข้มากขึ้น

9. แย่งคนไข้โดยเจตนาเพื่อหาประโยชน์ใส่ตน

10. ออกหลักฐานการแพทย์เป็นเท็จ

ข้อมูลจากรายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2479 (เอกสาร 12) บทที่ 4 เรื่องการควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะ ระบุว่า

...ตั้งแต่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์แล้ว ก็ได้มีการประชุมคณะกรรมการแพทย์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยอธิบดีกรมสาธารณสุขเป็นประธาน และมีกรรมการเจ้าหน้าที่ 8 นาย ซึ่งเป็นผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม และสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์กับมีกรรมการเชลยศักดิ์ (กรรมการเลือกตั้ง) อีก 4 นาย เพื่อพิจารณาวางระเบียบการประชุม การออกใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนของผู้ประกอบโรคศิลปะ การเพิกถอน

 

245  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ใบอนุญาต การตราสินใบอนุญาตท้องที่ การกำหนดลำดับชั้นของผู้ประกอบโรคศิลปะ เขตจำกัดการประกอบโรคศิลปะ ค่าธรรมเนียมและมรรยาท (จริยธรรม) ผู้มีอาชีพในทางประกอบโรคศิลปะ ทั้งนี้เพื่อออกเป็นกฎกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการแพทย์ กฎหมายนี้ได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.. 2472

ครั้นถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.. 2472 จึงเริ่มการจดทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะในจังหวัดพระนคร ธนบุรี นนทบุรี และสมุทรปราการ

ในปี พ.. 2474 ได้เริ่มจดทะเบียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี เพชรบุรี สมุทรสงคราม นครปฐม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก และปราจีนบุรี

ในปี พ.. 2475 ได้เริ่มจดทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะในจังหวัดกระบี่ นราธิวาส พัทลุง ยะลา ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงา ภูเก็ต สตูล และสุราษฎร์ธานี ฯลฯ

หลังจากการประกาศกฎกระทรวง (กฎเสนาบดี) ฉบับนี้ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.. 2472 ทำให้เกิดกลไกวิธีการควบคุมกำกับในเชิงรายละเอียด สามารถใช้บังคับจดทะเบียนตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมการประกาศพระราชบัญญัติการแพทย์ พุทธศักราช 2466 ยังไม่สามารถบังคับขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะทั่วประเทศ จากการที่กฎกระทรวง (กฎเสนาบดี) ฉบับนี้บังคับขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะไปทั่วทั้งประเทศ จึงส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะผลกระทบต่อแพทย์แผนโบราณ (แพทย์แผนไทย)

รายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2465 - 2467 บทที่ 4 เรื่องการออกกฎหมายในทางสาธารณสุข ข้อ 2 ระบุว่า พระราชบัญญัติการแพทย์เป็นพระราชบัญญัติเพื่อครอบงำวางระเบียบและเลื่อนฐานะแห่งการประกอบโรคศิลปะในสาขาต่าง ๆ ให้สูงยิ่งขึ้นไป สัมปาทิกผู้อำนวยการคือสภาการแพทย์สภาหนึ่ง ซึ่งได้ตั้งเป็นตัวแทนผู้ประกอบโรคศิลปะทุกชั้นทุกประเภทในกรุงสยาม และได้ตั้งขึ้นเป็นกรมกรมหนึ่ง ในกระทรวงมหาดไทย แยกออกต่างหากจากกรมสาธารณสุข

สำหรับการดำเนินการของสภาการแพทย์ในปี พ.. 2476 มีการประชุมกันเป็นประจำทุกเดือน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะเข้าที่ประชุมเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาจากการควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณที่เกิดขึ้นและได้พิจารณาในที่ประชุม ตามเอกสารแนบท้ายเรื่องรายงานประชุมกรรมการสภาการแพทย์ ครั้งที่ 66 - 71 จำนวน 6 ครั้ง มีเอกสารจำนวน 7 ชุด ระหว่างเดือนสิงหาคม พ..2476 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2477

ระยะที่สาม พ.. 2477 - 2479

รายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2479 บทที่ 4 เรื่องการควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะ (รายงานจัดทำเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.. 2482) รายงานผลการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการแพทย์ไว้ดังนี้

 

246 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

1) มีการประชุมบริหารราชการ พ.. 2477 - 21 ครั้ง พ.. 2478 - 24 ครั้ง พ.. 2479 - 16 ครั้ง

2) จดทะเบียนและออกใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลปะ พ.. 2477 - 1,857 ฉบับ พ.. 2478 - 1,589 ฉบับ พ.. 2479 - 8,277 ฉบับ

3) ต่อใบอนุญาตในสาขาต่าง ๆ พ.. 2477 - 1,040 ฉบับ พ.. 2478 - 4,114 ฉบับ พ.. 2479 - 6,363 ฉบับ

4) อนุกรรมการสอบความรู้ผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาการบำบัดโรคทางยาแผนโบราณชั้นสอง เพื่อเลื่อนเป็นชั้น 1 พ.. 2477 ผู้สมัครสอบ 11 คน สอบได้ 4 คน พ.. 2478 ผู้สมัครสอบ 31 คน สอบได้ 10 คน พ.. 2479 ผู้สมัครสอบ 7 คน สอบได้ 5 คน

5) ตั้งอนุกรรมการสอบความรู้ผู้ขออนุญาตประกอบโรคศิลปะในสาขาการปรุงยาหรือจำหน่ายยาแผนปัจจุบันชั้น 2 พ.. 2478 - ผู้สมัครสอบ 3 คน สอบได้ 1 คน พ.. 2479 - ผู้สมัครสอบ 3 คน สอบได้ 2 คน

6) ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนและต่อใบอนุญาตผู้ประกอบโรคศิลปะ

.. 2477 ยอดเงินที่สำนักงานเลขาธิการนายทะเบียนได้รับจำนวน 17,786 บาท รับจากจังหวัดต่าง ๆ ไม่ได้รับรายงาน รวม 17,786 บาท

.. 2478 ยอดเงินที่สำนักงานเลขาธิการนายทะเบียนได้รับจำนวน 14,106 บาท รับจากจังหวัดต่าง ๆ 6,189 บาท รวม 20,295 บาท

.. 2479 ยอดเงินที่สำนักงานเลขาธิการนายทะเบียนได้รับจำนวน 11,619 บาท รับจากจังหวัดต่าง ๆ 21,473 บาท รวม 33,092 บาท

 

247 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

247

จำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ พ.. 2477 - 2479

ที่มา : รายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2479

 

248 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

จำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะ สาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.. 2472 ถึง พ.. 2479

(แพทย์) แผนปัจจุบัน

สาขาแพทย์ทางยาและผ่าตัดชั้น 1                                    639 คน

สาขาแพทย์ทางยาและผ่าตัดชั้น 2                                    396 คน

สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยาชั้น 1                                       60 คน

สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยาชั้น 2                                    264 คน

สาขาหมอตำแยชั้น 1                                                      529 คน

สาขาหมอตำแยชั้น 2                                                      104 คน

สาขาการทำและรักษาฟันชั้น 1                                           14 คน

สาขาการทำและรักษาฟันชั้น 2                                        296 คน

สาขาการพยาบาล                                                         343 คน

สาขาการนวด                                                                   2 คน

(แพทย์) แผนโบราณ

สาขาการบำบัดโรคทางยาชั้น 1                                        86 คน

สาขาการบำบัดโรคทางยาชั้น 2                                20,104 คน

สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยา                                      4,546 คน

สาขาหมอตำแย                                                        8,055 คน

สาขาการนวด                                                          1,011 คน

การปรับปรุงพระราชบัญญัติการแพทย์

พระราชบัญญัติการแพทย์ (ฉบับแก้ไข) และกฎเสนาบดี (กฎกระทรวง) .. 2472

ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 บัญญัติให้สภาการแพทย์ออกกฎหมายลูกที่เรียกว่า กฎเสนาบดี เพื่อเสนอต่อเสนาบดีให้ประกาศในราชกิจจาฯ เพื่อออกเป็นกฎข้อบังคับในเรื่องระเบียบวิธีดำเนินการต่าง ๆ เช่น การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุทะเบียน การเพิกถอนและการอนุญาตกลับใหม่ บัญชีตราสิน รวมทั้งการวางบทบังคับจริยธรรมวิชาชีพ (มรรยาทในวิชาชีพ)

เนื่องจากยังไม่มีการออกกฎหมายลูก (กฎเสนาบดี) การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ระหว่าง พ.. 2466 - 2471 จึงเป็นการขึ้นทะเบียนชื่อไว้เฉย ๆ ไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขที่ใช้ระบุมาตรฐานความรู้ความสามารถ รวมทั้งวิธีการประกอบอาชีพแพทย์แต่ละประเภทได้ ทำให้การควบคุมแพทย์ประเภทต่าง ๆ ในช่วงนี้ประสบความล้มเหลว เพราะแพทย์แผนไทยยังประกอบอาชีพ

 

249 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ตามแบบเดิม และมีปัญหาเอาวิธีการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันไปใช้โดยไม่มีความรู้ ทำให้เกิดอันตราย สภาการแพทย์จัดทำกฎหมายลูก (กฎเสนาบดี) ขึ้น

จากรายงานเสนาบดีสภา การประชุมเสนาบดี ณ พระที่นั่งราชกรัณยสภา วันที่ 29 เมษายน พ.. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นประธานแทนพระองค์ พิจารณาเรื่องพระราชบัญญัติการแพทย์ และกฎเสนาบดี สรุปความได้ว่า(18)

1) เรื่องพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 เดิมนั้นครอบคลุมถึงสัตวแพทย์ด้วย ซึ่งไม่จำเป็น ที่ประชุมจึงมติให้ตัดสัตวแพทย์ออกจากการควบคุมของพระราชบัญญัติการแพทย์ และที่ประชุมเห็นชอบตามพระราชบัญญัติแก้ไข จึงมีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัตินี้ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.. 2472

2) เรื่องกฎเสนาบดี มีที่มาดังรายงานประชุมระบุ ความว่า...การที่ร่างกฎเสนาบดีขึ้นนั้น ก็เป็นแต่วิธีปฏิบัติที่ใช้มานานแล้ว แต่ยังไม่มีกฎเสนาบดี เพราะขัดข้องด้วยประการต่าง ๆ สภาการแพทย์ได้ร่างขึ้นชั้นหนึ่งก่อน เพราะเห็นว่าส่วนใหญ่ของกฎเสนาบดีเป็นการแพทย์เทฆนิค (เทคนิค) มาก เจ้าหน้าที่ทางปกครองกระทรวงมหาดไทยได้ตรวจอีกครั้งหนึ่ง และส่งกรมร่างกฎหมายให้อุปนายกสภาการแพทย์ทำการติดต่อกับกรมร่างกฎหมายแล้ว...จึงประกาศกฎเสนาบดีในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.. 2472

การประกาศใช้กฎหมายเสนาบดี พ.. 2472 จึงส่งผลกระทบในเชิงรายละเอียดของมาตรฐานวิชาชีพคือ ที่มาของความรู้ความสามารถที่รัฐบาลยอมรับ และวิธีการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เมื่อมีการขึ้นทะเบียนแพทย์ทั่วประเทศภายในระยะเวลา 3 - 4 ปีจึงส่งผลกระทบมากต่อวิชาชีพที่ไม่ได้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนที่ใบรับรองคุณวุฒิ เช่น แพทย์แผนโบราณ เป็นต้น

พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2474 (ประกาศเฉพาะพื้นที่)

เนื่องจากในขณะนั้นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ยังมีโครงสร้างขนาดเล็ก มีจำนวนข้าราชการไม่มาก เช่นใน พ.. 2479 สำนักคณะกรรมการแพทย์มีเจ้าหน้าที่เพียง 6 คน และมีเสมียนชั่วคราวช่วยทำงานเพียง 3 คน เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 จึงต้องจัดตั้งสำนักงานขึ้น ระหว่าง พ.. 2466 - 2467 กรรมการได้มีการประชุมรวม 4 ครั้ง และในปี พ.. 2468 ได้มีการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์ รวม 2 ครั้ง จึงเริ่มดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะในกรุงเทพมหานครก่อนเป็นลำดับแรก

ในหนังสือราชการของกระทรวงมหาดไทยถึงสำนักงานราชเลขาธิการ เลขที่ 125/2786 วันที่ 12 มิถุนายน พ.. 2474 ระบุว่า...สำหรับกรุงเทพมหานครได้ประกาศจดทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัตินั้นทั่วแล้ว บัดนี้สภาการแพทย์ได้เสนอความเห็นว่าสมควรประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ในมณฑลอยุธยาต่อไป...(19) เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าระหว่าง พ.. 2466 - 2474 การดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ประสบการณ์ในการดำเนินการระหว่าง พ.. 2466 - 2471 ได้นำมาใช้ออกกฎ

 

250 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เสนาบดี (กฎกระทรวง) .. 2472 ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของการแพทย์เชิงเทคนิค และระหว่าง พ.. 2472 - 2474 เป็นการใช้กฎเสนาบดี (กฎกระทรวง) ดำเนินการ จึงขยายไปตามมณฑลและหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วทั้งพระราชอาณาจักร

พระราชบัญญัติการแพทย์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476(20)

วันที่ 10 มีนาคม พ.. 2476 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติการแพทย์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.. 2476

สภาการแพทย์แก้เป็น คณะกรรมการแพทย์

สภานายกสภาการแพทย์แก้เป็นประธานคณะกรรมการแพทย์

อุปนายกสภาการแพทย์แก้เป็นรองประธานคณะกรรมการแพทย์

องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ...(ดูเพิ่มเติมในราชกิจจานุเบกษา)

พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479

มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการแพทย์ โดยเปลี่ยนเป็นพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ในรายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2479 บทที่ 4 เรื่องการควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะ ระบุว่าในปี พ.. 2479 ถือเป็นปีแรกที่มีแพทย์สาธารณสุขจังหวัดครบทุกจังหวัดจังหวัดละ 1 คน และมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 และร่างพระราชบัญญัติควบคุมการขายยา พ.. 2479 และในปีนี้ คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ จดทะเบียนและออกใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบโรคศิลปะรวม 8,277 ฉบับ และต่ออายุในสาขาต่าง ๆ 6,363 ฉบับ

ข้อความนำของบทที่ 7 การควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะ คือ หลักการและเหตุผลในการออกพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 และสันนิษฐานว่ายังคงใช้เป็นหลักการและเหตุผลในเสนอพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 เช่นกัน ความว่า

...ด้วยเหตุที่การประกอบโรคศิลปะมีอิทธิพลสำคัญแก่สวัสดิภาพของประชาชน และเป็นการสมควรที่จะมีระเบียบควบคุมกิจการประเภทนี้เพื่อคุ้มครองปวงชนจากอันตรายที่อาจเกิดจากการปฏิบัติของบุคคลผู้ไร้ความรู้ความชำนาญตามสมควร ทั้งเพื่อยกฐานะของการประกอบโรคศิลปะให้สูงขึ้น ทางราชการจึงได้ตราพระราชบัญญัติการแพทย์ พุทธศักราช 2466 ขึ้นไว้ และให้ใช้ในมณฑลกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2466 เป็นต้นไป เมื่อจะให้ใช้ในหัวเมืองมณฑลใด ก็จะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

หลักการของพระราชบัญญัติก็คือ การจัดตั้งสภาการแพทย์ขึ้นเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำการออกใบอนุญาตให้บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดประกอบโรคศิลปะ จดทะเบียนบุคคลทั้งปวงซึ่งได้รับใบอนุญาตเช่นว่านั้นแล้ว

 

251 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

และกระทำการเป็นที่ปรึกษาของกระทรวงธรรมการในเรื่องหลักสูตรสำหรับการศึกษาและสอบความรู้ในสาขาต่าง ๆ ของโรคศิลปะซึ่งจัดให้มีขึ้นในกระทรวง...

จากประสบการณ์ของสภาการแพทย์ที่ได้จากการดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะทั่วประเทศดังกล่าว ทำให้สภาการแพทย์นำมาปรับปรุงและนำไปสู่การยกเลิกพระราชบัญญัติการแพทย์ และยกร่างพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 ขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ประเด็นที่ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปในพระราชบัญญัติใหม่มีดังนี้

1) ชื่อ การแพทย์” (Medicine) ไม่ตรงกับความหมายของ ผู้ประกอบโรคศิลปะ” (Art of Healing - Practitioners) จึงเปลี่ยนชื่อให้ตรงกับสาระสำคัญกฎหมายที่เป็นการควบคุม ผู้ประกอบโรคศิลปะว่า พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

2) เปลี่ยนนิยามเดิมจากโรคศิลปะหมายความว่า การบำบัดโรคทางยา และทางผ่าตัด รวมทั้งการผดุงครรภ์ การช่างฟัน การสัตวแพทย์ หรือการรักษาคนบาดเจ็บป่วยไข้โดยประการใด ๆ เป็นนิยามใหม่ที่ชัดเจนกว่าเดิม คือโรคศิลปะหมายความว่า กิจการอันเกี่ยวกับการบำบัดโรคของมนุษย์ในสาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

. เวชกรรม คือ การบำบัดโรคทางยาหรือการผ่าตัดหรือทั้งสองอย่างรวมสูติกรรม

. ทันตกรรม คือ การบำบัดโรคฟัน การช่างฟัน หรือทั้งสองอย่าง

. เภสัชกรรม คือ การปรุงหรือผสมยาหรือการประดิษฐ์วัตถุใด ๆ ขึ้นเป็นยา

. การผดุงครรภ์

. การพยาบาล

. การกระทำโดยวิธีอื่นใดเพื่อบำบัดโรค

3) ในกฎหมายเดิม การควบคุมการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันรวมไปกับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ในกฎหมายใหม่ แยกนิยามกันชัดเจน เพื่อสร้างกลไกควบคุมกำกับที่แตกต่างกัน เนื่องจากการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันมีที่มาของความรู้ความสามารถจากโรงเรียนแพทย์ ส่วนการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณมีที่มาของความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน กำหนดนิยามใหม่ไว้ดังนี้

. การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้อันได้ศึกษา ตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยสากลนิยม

. การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำรา หรือการบอกเล่าสืบต่อกันมา ที่ มิได้อาศัยหลักวิทยาศาสตร์ โดยสากลนิยม

มีการปรับปรุงสำนักงานคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ดังนี้

- สถานที่ทำการ อยู่ที่กรมสาธารณสุข เชิงสะพานกษัตริย์ศึก

- อัตรากำลัง เจ้าหน้าที่ประจำ 6 คน เสมียนช่วยทำงานชั่วคราว 3 คน เลขาธิการ 1 คน เป็นนายทะเบียน ซึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการนี้และเป็นผู้รับผิดชอบในการรักษาทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะและในกิจการอื่นทั่วไป

 

252 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ภาระหน้าที่ วางระเบียบการประชุม การออกใบอนุญาต และขึ้นทะเบียนของผู้ประกอบโรคศิลปะ การเพิกถอนใบอนุญาต การตราสินใบ อนุญาต ท้องที่ การกำหนดลำดับชั้นของผู้ประกอบโรคศิลปะ เขตจำกัดการประกอบโรคศิลปะ ค่าธรรมเนียมและมรรยาท (จริยธรรม)ผู้มีอาชีพในทางประกอบโรคศิลปะ

การกำหนดนิยามแบบใหม่ ทำให้การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันที่ยึดตามหลักวิทยาศาสตร์ มีคุณสมบัติตรงกันข้ามกับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณที่ไม่ได้ยึดตามหลักวิทยาศาสตร์ ทำให้วิชาชีพทั้งสองประเภทแตกต่างอยู่ตรงกันข้าม

4) ในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 บัญญัติคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนว่า ต้องมีที่มาของความรู้ความสามารถอย่างไร มาตรา 15 (1)(2)(3) เป็นคุณสมบัติของผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน ส่วนมาตรา 15 (4) บัญญัติว่า สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ เป็นผู้ซึ่งได้รับการอบรมศึกษาจากผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแล้วตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขอันควรให้ขึ้นทะเบียนได้ ซึ่งกำหนดไว้แล้วในกฎกระทรวง ทำให้เกิดผลกระทบต่อแพทย์แผนโบราณ (แผนไทย)

5) พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 ได้บรรจุในหมวด 3 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะและมรรยาทในวิชาชีพ ถือเป็นการพัฒนาที่สำคัญ เพราะมรรยาทวิชาชีพ ต่อมาภายหลังเรียกใหม่ว่า จริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพเวชกรรมคืออาชีพแพทย์ในปัจจุบัน

การเปรียบเทียบหลักการและเหตุผลของ (ร่าง) พระราชบัญญัติฉบับแรก

หลักการและเหตุผลในการออกพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 ครั้งแรกในประเทศถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะแสดงถึงปัญหาการประกอบอาชีพแพทย์ในอดีต ซึ่งเป็นรากฐานของแพทยสภาและสมาคมวิชาชีพทางสาธารณสุขต่าง ๆ เช่น สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล และอื่น ๆ เป็นต้น เมื่อนำร่างกฎหมายฉบับสภากาชาดสยาม โดยพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) วันที่ 30 กันยายน พ.. 2464(21) เปรียบเทียบกับร่างกฎหมายฉบับกระทรวงมหาดไทย โดยหมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ (Dr. M Carthew, Dr. Ira Ayer) วันที่ 18 ตุลาคม พ.. 2464(22) พบข้อมูลดังนี้

 

253 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ตาราง 2 เปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติการแพทย์

253_ตาราง 2

 

254  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

254

 

 

255  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

เปรียบเทียบสาระสำคัญของกฎหมายและ (ร่าง) กฎหมาย 3 ฉบับ

ตาราง 3 เปรียบเทียบสาระสำคัญของกฎหมาย

255_ตาราง 3

 

256  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

256

 

257 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

257

258  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

258

259   ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

259_ต่อจากตาราง 258

สรุป

กฎหมายควบคุมกำกับอาชีพแพทย์แผนปัจจุบันมีจุดเริ่มต้นจากปัญหาการประกอบอาชีพแพทย์หลายประเภทในสังคมขณะนั้น เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณ หมอตำแย หมอผี หมอเวทมนตร์ เป็นต้น ซึ่งดำเนินไปอย่างเสรี ใครต้องการจะเป็นหมอหรือแพทย์ก็สามารถทำได้เลย ปราศจากการควบคุม จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตและสวัสดิภาพของประชาชนจำนวนมาก พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) แพทย์แผนปัจจุบันที่จบการศึกษาแพทย์จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์และตระหนักถึงปัญหา จึงได้ริเริ่มผลักดันให้มีกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการทำอาชีพแพทย์ตามแบบระบบสาธารณสุขในประเทศยุโรป ตั้งแต่ปี พ.. 2464 จึงนำไปสู่การจัดทำร่างกฎหมายโดยกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพจนนำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาชีพแพทย์ฉบับแรกต่อมา แต่เนื่องจากสังคมไทยในขณะนั้นมีการยอมรับวิถีการแพทย์แบบโบราณ การแพทย์แบบความเชื่อ ที่ไม่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกอยู่ด้วย จึงต้องการทำการควบคุมกำกับรวมกันไป ทำให้การจัดตั้งระบบควบคุมกำกับเกิดความยุ่งยาก เพราะมีพื้นฐานแตกต่างจากระบบตะวันตกซึ่งเป็นต้นแบบของระบบควบคุมกำกับที่นำมาประยุกต์ใช้มาก

 

260  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ทั้งพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ สภากาชาดสยาม และหมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ ที่ปรึกษากรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย มีความเห็นตรงกันคือ ต้องการจัดตั้ง Medical Council ขึ้นมาเพื่อควบคุมกำกับอาชีพแพทย์ แต่ประสบความยุ่งยากในเรื่องการกำหนดนิยามกฎหมายว่าด้วยอาชีพแพทย์ที่มีแพทย์หลากหลายประเภทในประเทศขณะนั้น ว่าควรเรียกว่าอย่างไร เพราะมีทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณ และแพทย์อื่น ๆ ด้วย เช่น แพทย์ทางฟัน(ทันตแพทย์) แพทย์ทางยา (เภสัชกร) เป็นต้น ซึ่งในที่สุดจึงใช้คำที่หมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ เรียกรวม ๆ เป็นว่าภาษาอังกฤษว่า Art of Healing เรียกผู้ประกอบอาชีพว่า Practitioner เมื่อทุกฝ่ายยอมรับแนวคิดของหมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ แล้วจึงแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งกระทรวงต่าง ๆ มีคำแปลแตกต่างกันหลายคำ รวมทั้งมีคำว่า เวชกรรม ปรากฏขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ (โดยกระทรวงมุรธาธร) แต่ยังไม่ได้ใช้ ต่อมาจึงได้ข้อยุติ เมื่อกระทรวงมหาดไทยกราบบังคมทูลขอพระบรมราชวินิจฉัยจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คำว่า Art of Healing แปลว่า โรคศิลปะ และใช้คำว่าการบำบัดโรคแทนคำว่าอายุรเวชกรรมจึงเป็นที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง กลุ่มอาชีพรวมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค โดยสาระสำคัญกฎหมายพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 ใช้แนวคิดผสมของทั้งสองฝ่ายคือทั้งแนวคิดพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) จากสภากาชาดสยามและแนวคิดหมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ แพทย์ที่ปรึกษากรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย

เจตนารมณ์เดิมของกฎหมายพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 คือการจัดตั้ง Medical Council หรือ สภาการแพทย์ แต่เนื่องจากมีอาชีพอื่น ๆ ที่เรียกว่าแพทย์หรือหมอในขณะนั้นหลายประเภทปะปนกันเข้ามามากมายในตอนแรก จึงถูกรวมเรียกว่าศาสตร์ Art of Healing ซึ่งได้รับพระราชทานคำแปลว่า การประกอบโรคศิลปะ แต่หน่วยงานที่ควบคุมยังคงเรียกว่า สภาการแพทย์ จึงยังไม่ตรงกับอาชีพที่ควบคุมกำกับจริง คือ ไม่ใช่การควบคุมการแพทย์ (Medicine) อย่างเดียว ต่อมาเมื่อดำเนินการไปจนสามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะทั่วประเทศนับหมื่นรายแล้วพบว่า ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นการควบคุมรวม ๆ หลายอาชีพ ไม่ใช่เฉพาะการควบคุมแพทย์แผนปัจจุบัน จึงปรับปรุงใหม่ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติการแพทย์ แล้วเปลี่ยนเป็นพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 สภาการแพทย์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะในเวลาต่อมา

เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเจริญก้าวหน้ามั่นคงเป็นหลักของประเทศแล้ว การควบคุมกำกับอาชีพแพทย์แผนปัจจุบันจึงแยกตัวออกจากการเป็นการควบคุมรวมใน Council of Art of Healing กลายเป็น Medical Council of Thailand เป็นการควบคุมกำกับอาชีพแพทย์แผนปัจจุบันตามเจตนารมณ์แรกเริ่มเมื่อปี พ.. 2466 ได้ในที่สุด เพราะจัดทำกฎหมายเฉพาะขึ้นคือพระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.. 2511 จนสามารถจัดตั้งเป็นแพทยสภาหรือ Medical Council เป็นแบบอย่างให้สภาวิชาชีพอื่น ๆ ที่มีความมั่นคงแล้ว แยกตัวออกมาจากการควบคุมรวมในการประกอบโรคศิลปะเช่นเดียวกัน นับเป็นวิวัฒนาการของกฎหมายควบคุมอาชีพในระบบสุขภาพที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย

 

261   ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ยุคที่ 2 คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

.. 2479 - 2511

พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ถนอม บรรณประเสริฐ

และอาจารย์ นายแพทย์เกรียง อัศวรุ่งนิรันดร์

ความเป็นมา

ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 นั้น มีการกำหนดนิยามผู้ประกอบโรคศิลปะมีเพียงประเภทเดียวคือ ผู้ที่รักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บทุกประเภทของทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยวัตถุ-ประสงค์เมื่อเริ่มควบคุมกำกับครั้งแรกนั้น คือ สกัดแยกหมอน้ำมนต์ หมอผี หรือหมอเสน่ห์ ออกจากระบบการรักษาประชาชน ซึ่งสามารถทำได้สำเร็จด้วยการขึ้นทะเบียนตราสิน (ทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ) การควบคุมรวมกันเป็นประเภทเดียวมีข้อดีของการควบคุมรวมกันคือ ผู้ประกอบโรคศิลปะทั้งแผนโบราณและแผนปัจจุบันมีศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน แต่เกิดปัญหาใหม่คือ จะควบคุมผู้ประกอบโรคศิลปะที่ขึ้นทะเบียนแล้วประเภทต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากถึงเกือบหนึ่งหมื่นคนได้อย่างไร เพราะมีทั้งหมอแผนโบราณ หมอแผนปัจจุบัน หมอตำแย พยาบาล หมอนวด สัตวแพทย์ หมอทำฟัน ช่างทำฟัน เป็นต้น ผู้ประกอบโรคศิลปะแต่ละประเภทมีพื้นฐานวิชาความรู้และที่มาของความรู้มีความแตกต่างกันอย่างมาก การควบคุมกำกับผู้ประกอบโรคศิลปะในช่วงปี พ.. 2466 - 2472การแก้ปัญหาจึงทำได้เพียงการขึ้นทะเบียนไว้ก่อน ต่อมาสภาการแพทย์ได้ทำการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติการแพทย์ยกเว้นการควบคุมสัตวแพทย์ และตรากฎเสนาบดีขึ้นในปี พ.. 2472 เพื่อแบ่งประเภทของผู้ประกอบโรคศิลปะออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

1. กลุ่มประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน คือ กลุ่มที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์

2. กลุ่มผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ คือ กลุ่มไม่ใช้หลักวิทยาศาสตร์

กฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 ได้กำหนดการได้มาซึ่งความรู้ความสามารถนั้น แบ่งเป็น 2 จำพวก คือ

1. ผู้ประกอบโรคศิลปะชั้น 1 คือ ผู้ที่เรียนจากโรงเรียนสอนที่กระทรวงธรรมการรับรองหรือรับถ่ายทอดวิชาโดยตรงจากตระกูลหมอแผนโบราณ

2. ผู้ประกอบโรคศิลปะชั้น 2 คือ ผู้ที่เรียนเองหรือศึกษานอกระบบที่ไม่มีในกฎหมาย การขึ้นทะเบียนจะมีขั้นตอนยุ่งยากขึ้น กล่าวคือ ต้องมีผู้ประกอบโรคศิลปะชั้น 1 จำนวน 3 คนรับรองเพื่อขออนุญาตจากสภาการแพทย์

 

262 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

การประกาศกฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 ทำให้การควบคุมกำกับมีประสิทธิภาพขึ้น เพราะการแยกผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทต่าง ๆ ออกจากกัน ทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานการควบคุมกำกับได้ชัดเจนขึ้น เพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็กระทบผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณมาก เพราะการได้มาซึ่งความรู้ความสามารถการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณไม่มีระบบการศึกษาในสถาบันที่รัฐบาลรับรอง เป็นการถ่ายทอดสืบต่อกันแบบโบราณ ทำให้การพิสูจน์ความรู้ความสามารถทำได้ยาก ประกอบกับมีความหลากหลายของตำราหมอแผนโบราณหลายสำนักวิชา และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณที่ต้องอาศัยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ชั้น 1 รับรองถึง 3 คน ทำให้การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณทำได้ค่อนข้างยาก มีปัญหาเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ทำให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักการวิธีการควบคุมกำกับเรื่อยมา

กฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 ได้แบ่งผู้ประกอบโรคศิลปะออกเป็นประเภทต่าง ๆ เป็นครั้งแรก เป็นจุดเริ่มต้นครั้งแรกของการกำหนดสาขาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้

1. ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาแพทย์ทางยา ทางผ่าตัด และทางผดุงครรภ์ ชั้น 1

2. สาขาการทำและรักษาฟัน ชั้น 1

3. สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยา ชั้น 1

4. สาขาหมอตำแย ชั้น 1

5. สาขาการพยาบาล

6. สาขาการนวดและแผนโบราณ

การกำหนดอายุทะเบียนของการบำบัดโรคทางยาให้ใช้ได้ตลอดชีวิต แต่สาขาอื่นมีอายุทะเบียน 3 ปี ต้องต่อเป็นคราว ๆ ไป การแบ่งประเภทผู้ประกอบโรคศิลปะในยุคแรกนี้ เริ่มมีการแยกแพทย์แผนปัจจุบันออกมาจากผู้ประกอบโรคศิลปะประเภทอื่น ๆ ซึ่งบางสาขามีทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณปะปนกัน เช่น สาขาการทำฟันและช่างฟันมีทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ เป็นต้น

กฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 ทำให้การแบ่งแยกผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันกับผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณเกิดความชัดเจนขึ้น ซึ่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 ยังไม่ได้กำหนดการแบ่งแยกไว้ การควบคุมกำกับต่อจากนี้แยกออกเป็น 2 ทาง คือ การควบคุมกำกับผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน และการควบคุมกำกับผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ การแบ่งแยกทำให้สาขาวิชาชีพต่าง ๆ ชัดขึ้น จนแยกเป็นกฎหมายใหม่ออกไป ทำให้เกิดสภาวิชาชีพต่าง ๆ ในปัจจุบัน

พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 (ฉบับที่ 1)

มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 และประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 แทน เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.. 2480 เป็นการนำหลักการแบ่งประเภทและวิธีการควบคุมกำกับผู้ประกอบโรคศิลปะในกฎเสนาบดี พ.. 2472 มา

 

263  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ปรับปรุงและบัญญัติเป็นสาระสำคัญในพระราชบัญญัติฯ พ.. 2479 มีการกำหนดกลไกการควบคุมกำกับในกฎหมายชัดเจนขึ้นมาก และเปลี่ยนชื่อจากพระราชบัญญัติการแพทย์เป็นพระ-ราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะเพื่อให้สอดคล้องกับสาระสำคัญของกฎหมาย คือ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ

การประกอบโรคศิลปะทุกประเภท พระราชบัญญัติฯ พ.. 2479

แบ่งประเภทของโรคศิลปะทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณออกเป็น 6 ประเภท คือ

1. เวชชกรรม

2. ทันตกรรม

3. เภสัชกรรม

4. การพยาบาลและการผดุงครรภ์

5. การพยาบาล

6. การกระทำโดยวิธีอื่นเพื่อบำบัดโรค

การกำหนดรายละเอียดของแต่ละประเภทในแผนปัจจุบันและแผนโบราณอยู่ในกฎกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของกรมสาธารณสุข

การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน - เวชชกรรม - พระราชบัญญัติฯ พ.. 2479

นิยามการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน กำหนดไว้ในมาตรา 4 คือการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้อันได้ศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์โดยสากลนิยมประกาศกำหนดไว้ครั้งแรกในหมวด 6 กำหนดลำดับชั้น ข้อ 24 () แห่งกฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 และใช้เป็นบรรทัดฐานเรื่อยมา ซึ่งการกำหนดนิยามแบบนี้สอดคล้องกับหลักการร่างกฎหมายพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2464 (Draft 1 of Medical Acts) ของหมอคาทิวและหมอไอรา แอร์ แพทย์ที่ปรึกษากรมสาธารณสุขในขณะนั้น ซึ่งนำเสนอกฎหมายจัดตั้ง Medical Council

นิยามแพทย์แผนปัจจุบันในกฎเสนาบดี พ.. 2472 บัญญัติว่าผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาแพทย์ทางยา ทางผ่าตัด และแพทย์ผดุงครรภ์ ชั้น 1แต่ในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 ได้บัญญัติใหม่ว่าเวชชกรรม คือ การบำบัดโรคทางยาหรือทางผ่าตัดหรือรวมทั้งทางสูติกรรมคำว่าเวชชกรรมจึงพบครั้งแรกในกฎหมายควบคุมกำกับวิชาชีพแพทย์ในพระราชบัญญัติฉบับนี้

การใช้คำว่า เวชชกรรม สันนิษฐานว่าเป็นการบัญญัตินิยามให้สอดคล้องกับปริญญาเวชชบัณฑิต ชั้นตรี” (ปัจจุบันคือปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตร เวชชบัณฑิต ชั้นตรี ครั้งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2473 ให้แก่ผู้เรียนจบจากคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ซึ่งในขณะนั้นคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลยังรวมอยู่เป็นคณะหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิสิตแพทย์ศิริราชในขณะนั้นเรียกว่าเวชชนิสิตคำว่าเวชชที่หมายความว่าแพทย์จึงมีใช้เป็นครั้งแรกในระบบราชการ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนเกิดกฎหมายควบคุมกำกับวิชาชีพแพทย์

 

264  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ครั้นต่อมาถึงการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (แก้ไขปรับปรุง) ฉบับที่ 7 พ.. 2509 ได้มีการปรับปรุงนิยามการประกอบโรคศิลปะครั้งสำคัญที่สุดอีกครั้ง คือ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 7 พ.. 2509 กำหนดให้การผ่าตัด ฉีดยา ฉีดสสารหรือวัตถุใด ๆ เข้าในร่างกาย เป็นการประกอบวิชาชีพเฉพาะผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรม ชั้น 1 โดยเฉพาะเท่านั้น ทำให้ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรม ชั้น 1หรือแพทย์แผนปัจจุบันเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะเพียงสาขาเดียวที่สามารถการผ่าตัด ฉีดยา ฉีดสสารหรือวัตถุใด ๆ เข้าในร่างกายมนุษย์ ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นนิยามของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมถือเป็นการกำหนดขอบเขตการทำงานของแพทย์แผนปัจจุบันเป็นครั้งแรกในปี พ.. 2509 ดังความต่อไปนี้

มาตรา 4...ให้ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรม ชั้น 1 เป็นผู้กระทำการผ่าตัด ฉีดยาฉีดสสารหรือสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกายเพื่อการเสริมสวย การคุมกำเนิดการทำหมัน หรือการบำรุงร่างกายได้

ต่อมาในปี พ.. 2511 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรมขึ้น โดยพัฒนาต่อเนื่องกับพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (แก้ไขปรับปรุง) ฉบับที่ 7 พ.. 2509 จึงกำเนิดเป็นแพทยสภาและนิยามการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรม ชั้น 1 ได้พัฒนากลายเป็นนิยามของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาจนถึงปัจจุบัน และพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ฉบับที่ 8 พ.. 2511 จึงได้ตัดนิยามผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรม ออกจากพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะตั้งแต่ฉบับที่ 8 เป็นต้นไป

การกำเนิดแพทยสภาในปี พ.. 2511 จึงถือเป็นการบรรลุเป้าหมายของกฎหมายควบคุมกำกับชุดนี้ที่ได้มีการริเริ่มร่างกันมาตั้งแต่ พ.. 2464 จนประกาศเป็นกฎหมายการแพทย์ในปี พ.. 2466 ตรงตามเจตนารมณ์ครั้งแรกที่ต้องการจัดตั้ง Medical Council of Siam ต้องใช้เวลาพัฒนาการนานถึง 45 ปี จนสามารถจัดตั้ง Medical Council of Thailand หรือแพทยสภาได้ในที่สุด

มาตรฐานแห่งการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน

พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 หมวด 2 ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาตแห่งพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดเงื่อนไขมาตรฐานวิชาชีพที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1) มาตรฐานของสถาบัน คือ ต้องได้รับการรับรองจากรัฐบาล

2) มาตรฐานความรู้ของการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน คือ ต้องเทียบเท่าหรือไม่ด้อยกว่าหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หมายถึงหลักสูตรแพทย์ศิริราชในขณะนั้น)

 

265  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

การกำหนดมาตรฐานสถาบันฝึกอบรมและมาตรฐานหลักสูตรฝึกอบรมในการได้มาซึ่งความรู้ความสามารถในการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน นับเป็นวิวัฒนาการสำคัญที่ยังคงถือเป็นบรรทัดฐานมาจนปัจจุบัน ในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฉบับแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมฉบับต่อ ๆ มายังคงหลักการควบคุมกำกับมาตรฐานไว้มาจนถึงพระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรม

การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ

กฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 ได้แบ่งผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณออกเป็น 4 ประเภท(ครั้งแรก) คือ

1. สาขาบำบัดโรคทางยา (มีชั้น 1 และชั้น 2)

2. สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยา (มีชั้น 1 อย่างเดียว)

3. สาขาหมอตำแย (มีชั้น 1 อย่างเดียว) และ

4. สาขาหมอนวด (มีชั้น 1 อย่างเดียว)

ต่อมาพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 ได้ยุบรวมการแบ่งประเภทการประกอบโรคศิลปะทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณรวมไว้ด้วยกัน คือ

1. เวชชกรรม

2. ทันตกรรม

3. เภสัชกรรม

4. การผดุงครรภ์

5. การพยาบาล

6. การกระทำโดยวิธีอื่นเพื่อบำบัดโรค

ในขณะนั้น พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 ได้เรียกแพทย์แผนปัจจุบันว่าผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชชกรรม” (คือการบำบัดโรคทางยาหรือทางผ่าตัดหรือรวมทั้งทางสูติกรรม) และแยกกลไกการควบคุมกำกับออกจากแผนโบราณพร้อมกับใช้การควบคุมกำกับแพทย์แผนปัจจุบันเป็นต้นแบบนำร่องกลไกการควบคุมกำกับการประกอบโรคศิลปะทั้งแผนปัจจุบันสาขาอื่น ๆ เช่น ทันตกรรม เภสัชกรรม พยาบาล เป็นต้น เพราะการควบคุมกำกับแพทย์แผนปัจจุบันทำได้ง่ายที่สุด เนื่องจากระบบการศึกษาแพทย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หมายถึงคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลในขณะนั้น) มีความเข้มแข็งเพราะได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ปรับปรุงหลักสูตร จนสามารถเทียบกับมาตรฐานสากลได้แล้ว เป็นต้นแบบการศึกษาอบรมวิชาชีพอื่น ๆ แผนปัจจุบันสาขาอื่น ๆ ที่มีการศึกษาอบรมพัฒนาสาขาให้ได้มาตรฐานเช่นกัน หลังจากนั้นกฎหมายดังกล่าวจะค่อย ๆ แยกวิชาชีพนั้นออกมาจากกลุ่มรวม (แพทยสภาแยกไปตั้งพระราชบัญญัติใหม่เมื่อ พ.. 2511 พยาบาลแยกไปเมื่อ พ.. 2528 เภสัชกรรมและทันตกรรมแยกไปเมื่อ พ.. 2537) ซึ่งกลไกการพัฒนานี้สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาแพทย์แผนโบราณล้าหลัง มีความหลากหลาย แตกต่างกันมากมายจนไม่มีมาตรฐานหลักสูตรกลาง และไม่สามารถใช้วิธีกำหนดประเมินมาตรฐานแบบวิชาตะวันตกได้

 

266  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะจึงใช้วิธีการควบคุมกำกับแบบเฉพาะกิจที่ปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์

มาตรฐานแห่งการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ

เนื่องจากการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณในยุคนั้น ยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดที่รัฐบาลรับรองมาตรฐาน จึงไม่มีหลักสูตรการศึกษาอบรมที่ได้รับการรับรองด้วยเช่นกัน และจากการที่พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 ยังคงกำหนดนิยามของผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณตามแบบกฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 ว่า ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ คือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำรา หรือการบอกเล่าสืบต่อกันมา ที่มิได้อาศัยหลักวิทยาศาสตร์โดยสากลนิยมเมื่อมีการออกกฎกระทรวงมหาดไทย พ.. 2479 ฉบับที่ 1 (ตามอำนาจมาตรา 5) ข้อ 5 จึงกำหนดประเภทการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณออกเป็น 3 ประเภท พร้อมกับการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพไว้ ดังนี้

ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณมี 3 สาขา ได้แก่

1. สาขาเวชชกรรม (แผนโบราณ) ต้องอบรมศึกษาต่อเนื่องจากผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 3 ปีพร้อมหนังสือรับรองและมีผู้รับรองอีก 2 คน (รวม 3 คน)

2. สาขาเภสัชกรรม (แผนโบราณ) ต้องอบรมศึกษาต่อเนื่องจากผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 1 ปีพร้อมหนังสือรับรองและมีผู้รับรองอีก 2 คน (รวม 3 คน)

3. สาขาการผดุงครรภ์ (แผนโบราณ) ต้องอบรมศึกษาต่อเนื่องจากผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 1 ปีพร้อมหนังสือรับรองและมีผู้รับรองอีก 2 คน (รวม 3 คน)

(เว้นหมอนวดไม่ควบคุม เนื่องจากไม่นับเป็นการประกอบโรคศิลปะ)

ต่อมามีการออกกฎกระทรวงมหาดไทย พ.. 2479 ฉบับที่ 3 ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา วันที่ 20 มกราคม พ.. 2485 ข้อ 4 ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มที่สำคัญคือถ้าผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตคนใด แสดงหนังสือรับรองของผู้ประกอบโรคศิลปะที่ให้การอบรมศึกษาแก่ตนไม่ได้ จะแสดงหลักฐานอย่างอื่นก็ได้ให้เป็นที่พอใจแก่คณะกรรมการ (ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ) แต่ในทุกสาขาดังกล่าว คณะกรรมการจะต้องตรวจสอบความรู้และหรือความชำนาญของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจนเป็นที่พอใจ

การควบคุมการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณมีความก้าวหน้าสำคัญอีกครั้งในปี พ.. 2530 ได้มีการเพิ่มนิยามใหม่ที่แสดงถึงความ ก้าวหน้าของสาขา ดังนี้...การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณทั่วไป และการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณแบบประยุกต์...

การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณทั่วไป หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ซึ่งได้ศึกษาโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียนสืบต่อกันมา อันมิใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์

การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณแบบประยุกต์ หมายความว่า การประกอบโรคศิลปะ

 

267  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

แบบโบราณโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ประกอบและไม่ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษา นอกจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และเป็นการศึกษาจากสถานศึกษาที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะรับรอง

ในปี พ.. 2530 จึงเป็นความก้าวหน้าสำคัญของการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบควบคุมกำกับแบบสากลได้สำเร็จ ครั้นเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2542 ขึ้นใหม่ และยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 กับฉบับแก้ไขทั้งหมดรวม 9 ฉบับ จึงได้กำหนดนิยามใหม่คือการแพทย์แผนไทยแทนการเรียกว่าการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

การกำหนดชั้นของผู้ประกอบโรคศิลปะ

หลักการแบ่งการประกอบโรคศิลปะเป็น 2 ชั้น คือ ชั้น 1 และชั้น 2 เริ่มมาตั้งแต่กฎเสนาบดีฯ พ.. 2472 โดยยึดหลักการคงเดิมคือ ถ้าได้รับการศึกษาอบรมจากสถาบันการศึกษาและหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง ก็จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ชั้น 1 ทำงานประกอบโรคศิลปะได้เต็มที่ แต่ถ้าเรียนเองหรือเรียนในระบบการศึกษาอบรมที่ไม่ได้รับรองจะต้องมีผู้ค้ำประกันและกระบวนการตรวจสอบ ทดสอบความรู้ความสามารถ เมื่อได้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบโรคศิลปะ ชั้น 2 แล้วจะทำงานประกอบโรคศิลปะได้จำกัดตามที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนดการแบ่งประเภทเป็นชั้น 1 ชั้น 2 เหลืออยู่ในสาขาทันตกรรมเป็นสาขาสุดท้าย เมื่อสาขาทันตกรรมแยกตัวออกไปตั้งพระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.. 2537 การแบ่งประเภทชั้น 1 ชั้น 2 จึงหมดไป ต่อมาในปี 2542 จึงได้ประกาศพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2542 แทน และได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 กับฉบับแก้ไขทุกฉบับ (จนถึงฉบับที่ 9 พ.. 2530)

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2542 คือมีการแยกการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาทันตกรรม และการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเภสัชกรรม ไปบัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะ รวมทั้งสมควรปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ และจัดให้มีคณะกรรมการวิชาชีพเพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะสาขาต่าง ๆ ตามที่กำหนดโดยพระราช-กฤษฎีกาให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการประกอบโรคศิลปะในสาขาเหล่านั้นให้มีความอิสระและคล่องตัวในการดำเนินงาน จึงได้ตราพระราชบัญญัตินี้

ส่วนการประกอบโรคศิลปะในสถานพยาบาลมีกฎหมายที่ควบคุม คือ พระราชบัญญัติควบคุมสถานพยาบาล พ.. 2484 ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.. 2484 ได้ให้คำนิยามสถาน-พยาบาลหมายความว่า สถานที่ที่ใช้หรือจำนงจะใช้เป็นที่รับคนเจ็บไข้ไว้รักษาพยาบาล รวมทั้งสถานที่ทำการคลอดลูก และได้มีการออกกฎกระทรวงตาม มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมสถานพยาบาล พ.. 2485 (ฉบับที่ 2) ความว่า...

 

268  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ข้อ 6 สถานพยาบาลจะต้องมีมาตรฐานสุขลักษณะดังต่อไปนี้...(4) ต้องมีเตียงสำหรับคนเจ็บไข้คนละเตียง ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถควบคุมการดำเนินการสถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนได้...จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.. 2504 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.. 2504 และได้มีการออกกฎกระทรวงตาม มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.. 2504 ความว่า ข้อ 4 ลักษณะของสถานพยาบาลตามความในมาตรา 8 (2) มีดังนี้ (1) ที่ไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (2) ที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเพื่อควบคุมการจัดตั้งสำนักงานแพทย์ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ราษฎร (ผู้ป่วย) ที่เข้ามารับการรักษาโดยควบคุมสถานพยาบาลทั้งที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนหรือที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน

ต่อมาในปี พ.. 2541 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.. 2541 ขึ้น เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลได้ใช้บังคับตั้งแต่ พ.. 2504 นั้น ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบกิจการของสถานพยาบาลปัจจุบัน สมควรที่จะดำเนินการควบคุมกิจการสถานพยาบาลเพื่อให้ความคุ้มครองประชาชนผู้รับบริการจากสถานพยาบาลมากยิ่งขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบกิจการ การเลิก การย้าย การปิดสถานพยาบาล การเพิกถอนใบอนุญาต การโฆษณากิจการของสถานพยาบาล ตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการควบคุมดูแลสถานพยาบาล และกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติดังกล่าว

พระราชบัญญัติและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

1) พระราชบัญญัติการแพทย์ พุทธศักราช 2466

2) กฎเสนาบดีตามความในมาตรา 8 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466

3) พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479

4) กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 1)

5) กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 3)

6) พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 9) .. 2530

7) พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2542

 

269  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ยุคที่ 3 แพทยสภา

.. 2511 - ปัจจุบัน

พระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรม

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภาคภูมิ สุปิยพันธ์

ความเป็นมา

หลังจากที่ประเทศไทยได้ริเริ่มจัดตั้งสภาการแพทย์ หรือ Medical Council ตามระบบประเทศตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 และได้ประสบปัญหาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบัน แต่เป็นแพทย์แผนไทย แพทย์แผนโบราณ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่มีอยู่ดั้งเดิมในพื้นที่มาแต่โบราณ จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ครั้นระบบการแพทย์ปัจจุบันเจริญก้าวหน้าขึ้นจนเป็นระบบหลักสำคัญที่สุดของประเทศแล้ว จึงมีความพร้อมที่จะจัดตั้ง Medical Council ตามระบบสากลอีกครั้ง จึงมีการดำเนินการแยกออกมาจากการควบคุมที่รวมอยู่ในการประกอบโรคศิลปะ จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมายโดยตราเป็นพระราชบัญญัติประกอบวิชาชีพเวชกรรม จัดตั้งแพทยสภาโดยมีหลักการเช่นเดียวกับสภาการแพทย์เดิม ซึ่งศัพท์คำว่าแพทยสภานั้น ปรากฏครั้งแรกในรายงานประชุมของคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงการแพทย์ครั้งที่ 3 ณ ห้องประชุม กระทรวงกลาโหม เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.. 2485 ในการประชุมหารือเพื่อจัดตั้งกระทรวงการสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์แต่ยังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ ต้องรอจนมีความพร้อมเพียงพอในปี พ.. 2509 จึงริเริ่มการจัดตั้งแพทยสภาขึ้นอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

การควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและกำเนิดของแพทยสภา

1. กฎหมายที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉบับแรกในประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติการแพทย์พุทธศักราช 2466(23 )ซึ่งกฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้มีองค์การควบคุมการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์ขึ้น เรียกว่าสภาการแพทย์และการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์นั้นตามกฎหมายฉบับนั้น เรียกว่าการประกอบโรคศิลปะ

หากจะเปรียบเทียบกับเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.. 2457 แล้วจะเห็นว่า เนติบัณฑิตยสภาตามพระราชโองการนั้นมีสมาชิกได้หลายประเภท โครงสร้างของสภาการแพทย์กับเนติบัณฑิตยสภาจึงมีข้อแตกต่างกันอยู่

2. ต่อมาในปี พ.. 2479 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 โดยยกเลิก พ...การแพทย์ 2466 ซึ่งตาม พ...ดังกล่าว กำหนดให้มีองค์การ

 

270  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ควบคุมการประกอบโรคศิลปะขึ้นใหม่ เรียกว่าคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะแทนสภาการแพทย์เดิม จึงเป็นอันว่าสภาการแพทย์ได้สิ้นสภาพลงใน พ.. 2479 นั่นเอง

สภาการแพทย์ดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้มีฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชากรมสาธารณสุขในกระทรวงเดียวกัน

สภาการแพทย์ไม่ให้มีสมาชิกเพราะไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องสมาชิกไว้เลย

3. เมื่อมีการประกาศใช้ พ...วิชาชีพเวชกรรม พ.. 2511 นั้น ก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพ...ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 พร้อม ๆ กันไปด้วย (คือ พ...ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 8) .. 2511)(24)

4. กำเนิดของแพทยสภา แนวคิดที่จะให้มีแพทยสภาตามแบบอย่างของเนติบัณฑิตยสภานั้นมีมาตั้งแต่เมื่อสภาการแพทย์สิ้นสุดลง และมีการใช้ พ...ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 แล้วในการประชุมใหญ่ประจำปีของแพทยสมาคมฯ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.. 2487(25)และจากผลของ พ...วิชาชีพเวชกรรม พ.. 2511 ทำให้

1) ...ควบคุมการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรมชั้นหนึ่งถูกยกเลิกไป

2) ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรมชั้นหนึ่ง กลายสภาพเป็นสมาชิกของแพทยสภาโดยมิต้องสมัคร

3) ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรม ชั้นหนึ่ง กลายสภาพเป็นใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ดังนั้นผู้ที่เคยขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะจากสภาการแพทย์เดิมและผู้ขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรม ชั้นหนึ่ง ตาม พ...ควบคุมการประกอบโรคศิลปะจะกลายสภาพมาเป็นสมาชิกแพทยสภา และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตาม พ...วิชาชีพเวชกรรม พ.. 2511 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของแพทยสภาคือสภาการแพทย์ใน พ.. 2466 นั่นเอง พระราชบัญญัติที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วทราบว่า ได้ถูกนำเสนอรัฐบาลแล้ว แต่ผู้ใหญ่เห็นว่ายืดยาวมากเกินไปจะส่งให้แพทยสมาคมฯ ช่วยแก้ไขให้เหมาะสม แต่แล้วก็ยังเงียบอยู่จนบัดนี้

จากหลักฐานข้างต้นนี้จะเห็นว่า ภายหลังที่ประกาศใช้ พ...ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 ได้ไม่นาน ก็ได้มีการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นเสนอไปยังรัฐบาล แต่มีอุปสรรคบางประการที่ไม่สามารถออกมาเป็นกฎหมายได้ และประกอบกับในขณะนั้นมีพระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488(26)

5. เมื่อคุรุสภาได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2487 (และตราขึ้นในวันที่ 9 มกราคม 2488)

เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่สนใจกันมากในบรรดาสมาชิก คือ เรื่องแพทยสภา เรื่องนี้เราตั้งต้นกันมาหลายปีแล้ว ในที่สุดเราก็ได้มีผู้แทนเข้าไปประชุมในคณะอนุกรรมการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฉบับใหม่ของกระทรวง

 

271  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ความประสงค์เดิมของเราก็คือ พยายามจัดตั้งแพทยสภาขึ้น โดยดำเนินแบบเนติบัณฑิตยสภาในเวลานี้ คุรุสภาเขาก็มีแล้ว ของเราช้าเพราะความไม่สะดวกและมีอุปสรรคต่าง ๆ

6. ในปี พ.. 2509 ได้มีคณะกรรมการแพทย์ระดับบริหารเกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการอื่นที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแพทย์อีกหลายท่าน คือ ประธานคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ปลัดกระทรวงสาธารณสุข) เลขาธิการนายทะเบียนคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อธิบดีกรมอนามัย อธิบดีกรมการแพทย์ ผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค กรมการแพทย์ กรรมการฝ่ายแพทย์ใน ก.. เจ้ากรมแพทย์ทหารบก นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ หัวหน้ากองแพทย์กรมตำรวจ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการสาธารณสุขเทศบาลนครกรุงเทพฯ นายกแพทยสมาคมฯ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากองกลางกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ช่วย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษา การมีคณะกรรมการนี้ก็เพื่อให้มีการปฏิบัติงาน ประสานงาน และร่วมมือกันในทางการแพทย์และในการประชุมคณะกรรมการแพทย์ระดับบริหารครั้งที่ 4/2509 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2509 พิจารณาเรื่องสภาการแพทย์

ตามบันทึกการประชุมคณะกรรมการแพทย์ระดับบริหาร ครั้งที่ 4/2509 เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2509 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครกรุงเทพฯ มีมติรับหลักการที่เห็นควรให้มีพระราชบัญญัติแพทยสภาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมมรรยาทของผู้ประกอบโรคศิลปะ และวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกับเนติบัณฑิตยสภาและให้มีสิทธิในการสอบความรู้ โดยให้การขึ้นทะเบียนยังคงอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข และที่ประชุมได้ตั้งอนุกรรมการขึ้น ประกอบด้วย(27)

1. นายแพทย์สงกรานต์ นิยมเสน

2. พลตำรวจตรี แสวง วัจนะสวัสดิ์

3. นายแพทย์สนอง อูนากูล

4. นายแพทย์เฉก ธนะศิริ

5. นายแพทย์จำรัส ผลผาสุก

6. นายทวี ฤกษ์จำนง

7. นายสิริวัฒน์ วิเศษสิริ

คณะอนุกรรมการดังกล่าวได้ร่างพระราชบัญญัติสภาการแพทย์ขึ้น โดยอาศัยพระราช-บัญญัติเนติบัณฑิตยสภา พ.. 2507(28) เป็นแนวทาง และต่อมาได้มีการเปลี่ยนหลักการมาเป็นพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.. 2511 อาจกล่าวได้ว่าคณะกรรมการแพทย์ระดับบริหารเป็นผู้ให้กำเนิดแพทยสภาขึ้นใหม่ เพื่อทดแทนสภาการแพทย์เดิม และกิจการของแพทยสภาได้เจริญก้าวหน้าขึ้นตามมาตรฐานสากล ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นต้นแบบการควบคุมกำกับการ

 

272  ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ให้สภาวิชาชีพจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมาย เพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และการรักษามาตรฐานจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพให้มีมาตรฐานสากล และมีความปลอดภัยต่อประชาชน

เชิงอรรถ

1 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 5 กรมศึกษาธิการ มร 5 ศ 1 - ศ 1/24 เรื่องรายงานกรมศึกษาธิการ ร.. 109

2 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารสภากาชาดไทย สกท 1/13, หน้า 19

3 กองพยาบาลฯ มีหน้าที่ควบคุมกำกับโรงพยาบาลในสังกัดสภากาชาดฯ

4 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารสภากาชาดไทย สกท 1/13, หน้า 4 - 6

5 เรื่องเดียวกัน, หน้า 16

6 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย มร 6 ม/10/1-ม 12/11, หน้า 17

7 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร 7 ม 7/5 หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 4/1502 แผนกสาธารณสุข ลงวันที่ 8 เดือนมิถุนายน พ.. 2466

8 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารสภากาชาดไทย สกท 1/13, หน้า 20

9 รายงานกรมสาธารณสุข พ.. 2465 - 2467, หน้า 7

10 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร7 ม7/5, หน้า 57

11 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารสภากาชาดไทย สกท 1/13, หน้า 114

12 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร7 ม7/5, หน้า 1 - 4

13 เรื่องเดียวกัน, หน้า 1

14 เรื่องเดียวกัน, หน้า 3 - 4

15 รายงานกรมสาธารณสุขประจำปี พ.. 2479

16 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารสภากาชาดไทย สกท 1/13, หน้า 133

17 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย มร 7 ม/ 27

18 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร 7 - ม 7/5, หน้า 147 - 149

19 เรื่องเดียวกัน, หน้า 173 - 174

20 พระราชบัญญัติการแพทย์แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476ราชกิจจานุเบกษา 50 (18 มีนาคม 2476), หน้า 984

21 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารสภากาชาดไทย สกท 1/13, หน้า 3 - 15

22 เรื่องเดียวกัน, หน้า 19 - 38

23 พระราชบัญญัติการแพทย์พุทธศักราช 2466, จดหมายทางแพทย์ของสภากาชาดสยาม 2467 : 7 (ตอน 1) :1 - 5

24 พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 8) .. 2511 ราชกิจจานุเบกษา 85 ตอน 91 (8 ตุลาคม 2511), หน้า 711 - 717

25 รายงานการประชุมใหญ่ประจำปีของแพทยสมาคมฯ และสโมสรแพทย์ฯ วันที่ 30 ธันวาคม 2487 จ.... 2488 : 28 : 39 - 44

26 พระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488ราชกิจจานุเบกษา 62 ตอน 4 (16 มกราคม 2488), หน้า 61

27 บันทึกการประชุมคณะกรรมการแพทย์ระดับบริหารครั้งที่ 4/2509 เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2509 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครกรุงเทพฯ

28 รายงานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการแพทยสมาคมฯ ปีที่ 43 ครั้งที่ 1/2507 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2507, .... 2507, 47 : 94 - 97